วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนครั้งที่12
วันพุธที่28 มีนาคม พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ

เนื่องจากมาเรียนสาย จึงได้สอบภาพเพื่อนในชั้นเรียน เกี่ยวกับการนำเสนอ บทความ ของเพื่อนอีก2 คน แล้วนำไปศึกษาค้นคว้าเองในบล็อกของเพื่อนทง2


นางสาวสิริวดี นุเรศรัมย์ นำเสนอบทความ เรื่อง สอนคณิตศาสตร์จากสิ่งรอบตัว
1.สอนตัวเลข โดยให้เด็กๆนับของเล่น หรือรู้เลขจากเบอร์โทรศัพท์ เลขที่บ้าน2.สอนขนาด ปริมาณ น้ำหนัก จากการเรียงของสิ่งที่แตกต่าง3.สอนรูปทรง จากการทำอาหาร หรือของใช้ภายในบ้าน4.สอนตำแหน่ง จากการขับรถบอกทาง หรือให้นำสิ่งของไปวางไว้ที่ต่างๆ5.สอนกลางวัน กลางคืน จากการให้ทำกิจวัตประจำวัน 6.สอนวัน/เดือน/ปี จากปฏิทิน หรือเทศกาล ประเพณีต่างๆ7.สอนเพิ่ม - ลด เพิ่มข้าว เพิ่มปุ๋ย หรือลดจำนวนสิ่งของที่ไม่ใช้8.สอนการใช้เงิน จากการไปตลาด ไปซื้อของ


นางสาวสุพรรณิการ์ สุขเจริญ นำเสนอบทความเรื่อง สอนลูกเรื่องจำนวนการนับเเละตัวเลข
1.จัดบรรยากาศภายในบ้านให้มีตัวเลขให้เด็กได้เห็นเด็กจะเกิดความสนใจ 
2.นับอวัยวะ ตากี่มีตา 
3.เล่านิทานที่มีจำนวนตัวเลข เพื่อให้เด็กได้นับ ได้คิด

อาจารย์มอบหมายงาน ให้จับคู่ คิดสื่อการเรียนการสอนจากแผงไข่


เนื่องจากมาสาย อาจารย์ให้ทำคนเดียว โดยคิดสื่อจากแกนกระดาษทิชชู่

การประเมิน
ประเมินตนเอง มาเรียนสาย วันนี้ค่อนข้างตามเพื่อนทันบ้าง บางเหตุการณ์
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจเรียน และอธิบายงานให้เข้าใจเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ ไปปรึกษาสื่อกับอาจารย์ อาจารย์ช่วยคิดสื่อ และอธิบายข้อบกพร่องและช่วยแก้ไขได้ดีมาก และเข้าใจง่าย


วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนคร้งที่11
วันพุธที่21มีนาคม2561

นางสาวณัฐธิดา ธรรมแท้ นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง การเรียนรู้จำนวนตัวเลขมากกว่าน้อยกว่า  ให้เด้กได้เห็นจำนวนจริงใช้ของจริงหยิบจับได้ เห็นค่าจำนวนไอศกรีมแล้วใช้เลขกำกับ อาจารย์เพิ่มเติมว่า สอนจำนวนเท่ากันก่อนค่อยหาว่าอันไหนมากกว่าน้อยกว่า นำไปใช้ในการสอนได้
นางสาวปวีณา พันธ์กุล นำเสนอบทความ วิธีเรียนคณิตศาสตร์ในห้องครัวกับคุณแม่
1.ชั่ง ตวง สอนหน้ำหนัก
2.หั่นผัก สอนรูปทรง
3.แม่พิมพ์ สอนรูปทรงต่างๆ
4.นับเลขเช่น นับเวลาในการรอ อบ หรือ ใส่น้ำตาลกี่ช้อน
นางสาวณัฐชา บุญทอง นำเสนอบทความเลขคริตคิดสนุก
แนะนำพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบาน 
พ่อแม่มีส่วนร่วมในการสอนคณิตศาสตร์ ชวนลูกพูดคุยให้ฝึกคิด
กิจกรรมที่1 ทำเยลลี่ให้ ได้ทักษะ ชั่ง ตวง วัด
กิจกรรมที่2 การประดิษฐ์กล่องของขวัญ ได้การวัด รูปทรง
แนวคืดแบบไฮสโคป ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมมาว่า
1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

จุดเด่นของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope)

การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ในเมื่อหลักการของแนวนี้คือให้เด็กริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเอง ดังนั้น การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศก็จำเป็นต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ มีการลื่นไหลของกิจกรรม และทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกระตือรือร้น
1. พื้นที่ ต้องมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือกระทำ มุมสำคัญที่ควรมี คือ มุมศิลปะ มุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก
2. วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนและอุปกรณ์ต้องมีมากพอและหลากหลาย เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้พัฒนาแผนการทำงาน และดำเนินการตามแผน
3. การจัดเก็บ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรการค้นหา-ใช้-เก็บคืน ดังนั้น การจัดวางสิ่งของในห้องเรียนก็ต้องเอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วนตนเอง ครูต้องจัดวางอุปกรณ์ให้เด็กสามารถค้นหาได้ง่าย สะดวก ปลอดภัย เด็กสามารถหยิบมาใช้และเก็บคืนได้เอง กระบวนการทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จัดสังเกต เปรียบเทียบ มีความรับผิดชอบและช่วยเหลือ

ประโยชน์ของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope) ที่มีต่อเด็ก

1. สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโยครูต้องเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน
2. การลงมือทำงานฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ
3. เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย  ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่ตามมาคือ ความสำเร็จในการทำงานที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  ได้เรียนรู้และมีความสุขในการทำงานที่ตนสนใจ
การเรียนแบบ ไฮสโคป (High Scope) ถือเป็นแนวการเรียนการสอนที่น่าสนใจเพราะเน้นในการพัฒนาศักยภาพของเด็กอย่างแท้จริงไฮสโคป เป็นการเรียนที่ไม่จำเป็นต้องเรียนที่โรงเรียนเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่อาจนำแนวทางนี้มาสอนลูกเมื่ออยู่ที่บ้านก็ได้  เพราะการที่เด็กได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง  ย่อมสร้างความภาคภูมิใจเมื่อทำสำเร็จ และฝึกให้ลูกเป็นคนกล้าคิดกล้า มีความคิดสร้างสรรค์  เรียนรู้การทำงานอย่างมีระบบ  ขั้นตอน และเรียนรู้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง   
-การเรียนคณิตศาสตร์ด้วยลูกบอล การวางแผนให้เด็กคาดคเนด้วยสายตา ว่ามีลูกบอลในถุงเท่าไหร่

-การตั้งโจทย์ให้เด็กแยก2กลุ่มเท่าๆกัน อยู่ในมาตราฐานคณิตศาสตร์สาระที่1จำนวนและการดำดเนินการ
-ให้เด็กนับจากซ่ายไปขวาเสมอและใช้เลขฮินดูอารบิกมากำกับ
-การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหย์แล้วบอกจำนวนที่เหลือและจับคู่1ต่อ1 เปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่าให้เด็กเห็นภาพ
-การตั้งโจทยือนุกรม ต้องมีแพทเทิร์นอย่างน้อย2แพทเทิร์นให้เด็กได้จับทางได้



-การสอนสมมาตรให้เด็กได้ลงมือทำเอง หาเงาของภาพที่ตัดให้สังเกต
 และหาคำตอบ ด้วยของจริงหยิบจับได้

-การแรเงาภาพ ให้เเป็นรูปที่ไม่ซำกัน ใน1แผ่นกระดาษจะสามารถทำได้กี่ช่อง


การประเมิน
ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ ฟังสิ่งที่อาจารย์สอน 
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียน อบคำถามอาจารย์ได้
ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนให้เเห็นภาพเหมือนบรรยากาศที่จะนำไปสอนเด็กจริงๆ ทำใหง่ายต่อการเข้าใจ คือเรรียนรุ้จากของจริง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10
วันศุกร์ที่16มีนาคม2561

ความรู้ที่ได้รับ

นางสาวชานิศา หุ้ยหั่น นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมอนเตสซอรี่ได้ดังนี้
หลักการของการสอนแบบมอนเตสซอรี่


  • พัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการ ตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
  • ในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 3ขวบเป็นช่วงที่จิตซึมซับสิ่งแวดล้อมโดยไร้ความรู้สึก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การมองเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การดมกลิ่น และการสัมผัส เด็กใช้จิตในการหาความรู้
  • การเรียนรู้ในระยะแรกของชีวิตเป็นช่วงพัฒนาสติปัญญาเด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้ดี ครูต้องช่างสังเกตและใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด
  • การเตรียมสิ่งแวดล้อมเด็กจะเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่าง มีจุดหมาย มีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเอง
  • เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้ระเบียบวินัยของชีวิต มีอิสระภาพในการทำงานและแก้ไขข้อบกพร่องเด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ลดวิธีการให้ครูเป็นศูนย์กลาง แต่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างการสอนของงานวิจัย เพื่อให้เด็กเรียนรุ้เรื่องการเรียงจำนวนเลข แยกเลขคู่ เลขคี่ กิจกรรมบัตรเลขและเบี้ย ครูสาธิตวางเบี้ยจำนวนตรงกับบัตรตัวเลข เมื่อถึงจำนวน10 ถ้ามีเบี้ยเหลือ เด็กจะได้เรียนรู้การผิดพลาดและตรวจสอบการวางเบี้ยใหม่ (ซึ่งมอนเตสซอรี่เน้นให้เด็กสัมผัสจัดวาง)



นางสาววิจิตรา ปาคำ นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวเด็ก
นำสิ่งที่เด็กรู้จักในท้องถิ่นมาสอนคณิตศาสตร์เช่น ปู
กิจกรรมเสริมประสบการณ์นำใบไม้ที่หล่นบนพื้นรอบต้นไม้มาเปรียบเทียบให้เด็กแบ่งออกเป็น2กองโดยครูตั้งเงื่อนไขเช่นแบ่งให้กองหนึ่งมากกว่าอีกกองหนึ่งให้เด็กรู้มากกว่าน้อยกว่า
กิจกรรมสร้างรรรค์ การร้อยใบไม้
                                  พิมพ์ภาพจากใบไม้
                                  ตัดปะใบไม้บนตัวเลขในกระดาษ
กิจกรรมเสรี นับจำนวนถั่วตามตัวเลข
กิจกรรมกลางแจ้ง กระต่ายวิ่งเก็บของ วิ่งจับสิ่งของ5สิ่งมาใส่ในตระกร้า
เกมการศึกษา ก้อนหินหรรษา เรียงหิน ขาว แดง จับคู่1ต่อ 1เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านสิ่งที่อยู่รอบตัว
อาจารย์พูดเสริมเกี่ยวกับแต่ละกิจกรรมไว้ ในสิ่งที่สามารถนำไปสอนในอนาคตได้
-ให้เด็ก สอนนับแค่1-10 พอ 
-นับใบไม้หรือสิ่งของต่างๆ นับจากซ้ายไปขวาเสมอ เริ่มแถวใหม่ก็เริ่มจากว้าย
-ร้อยใบไม้บอกว่าร้อยจากไหน ใหญ่ไปเล็กหรือเล็กไปใหญ่ เพื่อให้เด็กได้คอนเซ็ป

นาวสาวปรางทอง สุริยวงค์ นำเสนอวิจัย เรื่องทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
เด็กได้การเปรียบเทียบ การจับคู่ การนับ ผักชุปแป้งทอด จับคู่ผักตามรูปทรง ถามเด้กว่าผักแต่ละชนิดมีสีเหมือนกันไหม การหั่นแครอท แบ่งขนาดในการหั่น สามารถสอนเด็กได้ว่า แบ่งได้กี่ชั้น รูปทรงอะไร สามารถนำไปประยุกต์สอนได้


การประเมิน 
ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอและอาจารย์สอนตลอดทั้งคาบ
ประเมินเพื่อน เพื่อนมาน้อย ไม่ถึง10คนแต่ ก็ไม่เสียงดังรบกวนเพื่อนคนอื่น
ประเมินอาจารย์ สอนเข้าใจง่าย นำวิจัย เข้าสู่บทเรียนให้เห็นภาพต่างๆได้ชัดเจน

วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9
วันพุธที่14มีนาคม2561

ความรู้ที่ได้

อาจารย์เริ่มเข้าสู่การสอนเรื่อง สาระการเรียนรู้คณิตศาตร์



ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ  ในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย  และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน  จึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย  


สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
จำนวนนับ หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า...เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับจำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน  จะมีค่าเท่ากัน  มากกว่ากัน  
หรือ น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว 
การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก  หรือจากมากไปหาน้อย
สาระที่  2  การวัด
การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆ เงินเหรียญและธนบัตรเป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น ช่วงใหญ่ๆ คือ  กลางวันและกลางคืน
  เช้า  เที่ยง  เย็น  เมื่อวาน  วันนี้  พรุ่งนี้  เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ1 สัปดาห์มี 7วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์  วันจันทร์  วันอังคาร  วันพุธ  วันพฤหัสบดี  วันศุกร์  และวันเสาร์
สาระที่ 3 เรขาคณิต
การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก  และรูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม 
รูปสี่เหลี่ยม  ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป
สาระที่  4  พีชคณิต
แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด  ของจำนวนรูปเรขาคณิต  หรือสิ่งต่างๆ

สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย  โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ
อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


ท้ายชั่วโมงการเรียนการสอนอาารย์มอบหมายงาน
ให้จัดกิจกรรมให้ตรงกับสาระทางคณิตศาสตร์ในแต่ละข้อ

การประเมิน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจต่อบทเรียน เข้าใจที่อาจารย์สอน ตอบคำถามได้
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียนบางเวลา เล่นกันบางเวลาและเสียงดังคุยกันบ่อย
ประเมินอาจารย์ สอนเข้าใจง่าย ทบทวนต่อบทเรียนที่ผ่านมาแต่ละคาบเสมอ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10
วันศุกร์ที่16มีนาคม2561

ความรู้ที่ได้รับ

นางสาวชานิศา หุ้ยหั่น นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมอนเตสซอรี่ได้ดังนี้
หลักการของการสอนแบบมอนเตสซอรี่
        1. พัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการ ตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
        2. ในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ขวบ เป็นช่วงที่จิตซึมซับสิ่งแวดล้อมโดยไร้ความรู้สึก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การมองเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การดมกลิ่น และการสัมผัส เด็กใช้จิตในการหาความรู้
        3. การเรียนรู้ในระยะแรกของชีวิต เป็นช่วงพัฒนาสติปัญญา เด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้ดี ครูต้องช่างสังเกต และใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด
        4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่าง มีจุดหมาย มีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเอง
        5. เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้ระเบียบวินัยของชีวิต มีอิสระภาพในการทำงานและแก้ไขข้อบกพร่องเด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ลดวิธีการให้ครูเป็นศูนย์กลาง แต่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างการสอนของงานวิจัย เพื่อให้เด็กเรียนรุ้เรื่องการเรียงจำนวนเลข แยกเลขคู่ เลขคี่ กิจกรรมบัตรเลขและเบี้ย ครูสาธิตวางเบี้ยจำนวนตรงกับบัตรตัวเลข เมื่อถึงจำนวน10 ถ้ามีเบี้ยเหลือ เด็กจะได้เรียนรู้การผิดพลาดและตรวจสอบการวางเบี้ยใหม่ (ซึ่งมอนเตสซอรี่เน้นให้เด็กสัมผัสจัดวาง)



นางสาววิจิตรา ปาคำ นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวเด็ก
นำสิ่งที่เด็กรู้จักในท้องถิ่นมาสอนคณิตศาสตร์เช่น ปู
กิจกรรมเสริมประสบการณ์นำใบไม้ที่หล่นบนพื้นรอบต้นไม้มาเปรียบเทียบให้เด็กแบ่งออกเป็น2กองโดยครูตั้งเงื่อนไขเช่นแบ่งให้กองหนึ่งมากกว่าอีกกองหนึ่งให้เด็กรู้มากกว่าน้อยกว่า
กิจกรรมสร้างรรรค์ การร้อยใบไม้
                                  พิมพ์ภาพจากใบไม้
                                  ตัดปะใบไม้บนตัวเลขในกระดาษ
กิจกรรมเสรี นับจำนวนถั่วตามตัวเลข
กิจกรรมกลางแจ้ง กระต่ายวิ่งเก็บของ วิ่งจับสิ่งของ5สิ่งมาใส่ในตระกร้า
เกมการศึกษา ก้อนหินหรรษา เรียงหิน ขาว แดง จับคู่1ต่อ 1เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านสิ่งที่อยู่รอบตัว
อาจารย์พูดเสริมเกี่ยวกับแต่ละกิจกรรมไว้ ในสิ่งที่สามารถนำไปสอนในอนาคตได้
-ให้เด็ก สอนนับแค่1-10 พอ 
-นับใบไม้หรือสิ่งของต่างๆ นับจากซ้ายไปขวาเสมอ เริ่มแถวใหม่ก็เริ่มจากว้าย
-ร้อยใบไม้บอกว่าร้อยจากไหน ใหญ่ไปเล็กหรือเล็กไปใหญ่ เพื่อให้เด็กได้คอนเซ็ป

นาวสาวปรางทอง สุริยวงค์ นำเสนอวิจัย เรื่องทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
เด็กได้การเปรียบเทียบ การจับคู่ การนับ ผักชุปแป้งทอด จับคู่ผักตามรูปทรง ถามเด้กว่าผักแต่ละชนิดมีสีเหมือนกันไหม การหั่นแครอท แบ่งขนาดในการหั่น สามารถสอนเด็กได้ว่า แบ่งได้กี่ชั้น รูปทรงอะไร สามารถนำไปประยุกต์สอนได้


การประเมิน 
ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอและอาจารย์สอนตลอดทั้งคาบ
ประเมินเพื่อน เพื่อนมาน้อย ไม่ถึง10คนแต่ ก็ไม่เสียงดังรบกวนเพื่อนคนอื่น
ประเมินอาจารย์ สอนเข้าใจง่าย นำวิจัย เข้าสู่บทเรียนให้เห็นภาพต่างๆได้ชัดเจน


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8
วันพุธที่28กุมภาพันธ์2561


เป็นสัปดาห์ของการสอบ จึงไม่มีการเรียนการสอน


วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนครั้งที่7
วันศุกร์ที่21กุมภาพันธ์2561

ความรู้ที่ได้รับ

นางสาววสุธิดา คชชา นำเสนอบทความ 
เรื่อง สอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก (สำหรับเด็กปฐมวัย)
 ให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องของการจำแนกสิ่งต่างๆ นำดอกไม้ขนิดต่างๆที่มีสีต่างๆ มาให้เด็กสังเกต และจำแนกดอกไม้ตาม ชนิด สี กลิ่น ของดอกไม้และนอกจากนี้เด็กยังสามารถเปรียบเทียบจำนวนของดอกไม้ที่จำแนกได้และเปิดโอกาสให้เด็กเล่าหรือวาดภาพโดยมีครูคอยให้กำลังใจ

อีกคนนำเสนอวิจัยสัปดาห์หน้าเนื่องจากยังไม่พร้อม




นางสาวกิ่งแก้ว ทนนำ นำเสนอตัวอย่างการสอน รูปทรงแปลงร่าง



- ถามเด็กๆว่ารู้จักรูปทรงใดบ้างในชีวิตประจำวันรอบตัวเด็ก เพื่อทดสอบความรู้เดิมที่เด็กมีเกี่ยวกับรูปทรง
-ให้เดกหลับตาสัมผัสสิ่งของที่คุณครูเอามาว่ามีรูปทรงใดบ้าง
-ต่อมาให้เดกๆนำรูปทรงไปแปลงร่างเป็นรูปต่างๆ ขึ้นอยู่กับความคิดจินตนาการของเด็กเอง ให้เด็กได้ลองทำ และใช้ความคิดสร้างสรรค์
การเรียนรู้เรื่องรูปทรงจะเป็นบทเรียนหนึ่งที่ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสสืบค้นความรู้ ตอบสนองความต้องการรู้ตามวัย เดกจะได้รับการปูนิสัยให้เป็นคนช่างสังเกตจะพัฒนาความคิด และใช้การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
การประเมิน
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน และตั้งใจหาข้อมูลมานำเสนอในวันนี้
ประเมินเพื่อน เพื่อนฟังอาจารย์และผู้นำเสนอ ออกความความคิดเห็นภายในชั้นเรียนได้
ประเมินอาจารย์ อาจารย์นำเนื้อหาของผู้ที่นำเสนอมาพูดถึงความเป็นไปได้ในรายวิชาและแตกฉานความรู้ให้เข้าใจง่ายมากขึ้น ให้ได้คิดหาคำตอบร่วมกัน

งานที่ได้รับมอบหมาย การสร้างรูปเรขาคณิตและรูปทรงเลขาคณิตโดยมีไม้จิ้มฟันและดินน้ำมันเป็นส่วนประกอบ 1.รูปเรขาคณิต  รูปสี่เหลี่ยม 2....