วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3
วันพุธที่24มกราคม 2561 เวลา 08.30-12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ไม่ได้เข้าสอนแต่มอบหมายงานไว้ คือหาสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็ปฐมวัยมา1ชิ้น และวาดรูปพร้อมบอกวิธีเล่น 

บรรยากาศในห้องเรียน เพื่อนๆนั่งทำงานเงียบๆ


เพื่อนทำงาน


สื่อคณิตศาสตร์1ชิ้นเรื่องรูปเลขาคณิต
การประเมิน
ประเมินตนเอง ตั้งใจทำงานในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน  เพื่อนเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ อาจารย์สั่งงานชัดเจนเข้าใจง่าย

วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2561

ตัวอย่างการสอนคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การบวกเลขหนึ่งหลัก อ.2

สรุปตัวอย่างการสอน

ตัวอย่างการสอน**รายการโทรทัศน์เพื่อเด็กปฐมวัย ป.ปลา ตากลม ตอนที่32 รูปทรงแปลงร่าง 27 เม.ย. 2011 ครูหน่อย 
- ถามเด็กๆว่ารู้จักรูปทรงใดบ้างในชีวิตประจำวันรอบตัวเด็ก เพื่อทดสอบความรู้เดิมที่เด็กมีเกี่ยวกับรูปทรง
-ให้เดกหลับตาสัมผัสสิ่งของที่คุณครูเอามาว่ามีรูปทรงใดบ้าง
-ต่อมาให้เดกๆนำรูปทรงไปแปลงร่างเป็นรูปต่างๆ ขึ้นอยู่กับความคิดจินตนาการของเด็กเอง ให้เด็กได้ลองทำ และใช้ความคิดสร้างสรรค์
การสอนรูปร่างรูปทรงมีประโยชน์ต่อเด็กคือ 
*เด็กได้ฝึกใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ ให้รู้จักสังเกต และแก้ปัญหา 
*เด็กได้ฝึกคิดค้นประดิษฐ์สิ่งต่างๆตามความคิดของเขา
*การส่งเสริมการเล่น เป็นการเปิดโอกาสให้เดกได้ค้นพบวิธีการหาความรู้
**สรุป การเรียนรู้เรื่องรูปทรง จะเป็นบทเรียนหนึ่งที่ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสสืบค้นความรู้ ตอบสนองความต้องการรู้ตามวัย เดกจะได้รับการปูนิสัยให้เป็นคนช่างสังเกตจะพัฒนาความคิด และใช้การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

งานวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

สรุปงานวิจัย
ที่มา http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Pigitra_K.pdf

-ชื่อวิจัย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
ด้วยขนมอบ
-ภูมิหลัง เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สาคัญที่สุด สําหรับพฒนาการของมนุษย์สิ่งที่เด็กได้รับประสบการณ์ และการเรียนรู็ในช่วง 5 ปีแรก ของชีวิตจะมีผลต่อการวางรากฐานที่สําคัญต่อบุคลิกภาพของเด็กที่จะเติบโตเปนผู้ใหญ่ ดังนั้น เด็กควรที่จะได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วน ทั้งทางด้านการอบรมเลี้ยงดูการเอาใจใส่ ความรกและความอบอุ่น ในชีวิตประจําวันของเด็กวัยก่อนประถมศึกษาจะต้องเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อยู่ตลอดเวลา นับตั้งแต่ตื่นนอนในตอนเช้า เด็กรู้จักคําว่า “เช้า” ซึ่งเป็นคําบอกช่วงเวลา เมื่อจะแปรงฟันเด็กต้องใช้ การสังเกต เพื่อจําแนกให้ได้ว่า แปรงสีฟันอันไหนเป็นของตน จากความสําคัญและสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาว่าการจัดกิจกรรมการใช้ ขนมอบ ทํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์สามารถทําให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตลอดจนมีพัฒนาการด้านสติปัญญา ในด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากการใช้ขนมอบทํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ซึ่งผลการวิจัย ครั้งนี้จะเป็นแนวทางสําหรับครูผู้ บริหาร ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัย ในการจัด และพฒนารูปแบบของกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์และพัฒนาทักษะทางคณตศาสตร์สําหรบั เด็กปฐมวัยต่อไป
-ความมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม  ศิลปสร้างสรรค์ดวยขนมอบ
-ขอบเขตของการวิจัย 
ประชากร  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกําลังศึกษา อยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัด สํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร จํานวน 81 คน
กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอยางที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปีซึ่งกำลัง ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนบาลกุ๊กไก่ สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จํานวน 20 คน 
ตัวแปรที่ศึกษา 
ตัวแปรต้น คือการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ 
ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร
-ผลการวิจัย  
ระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแยกเป็นรายด้าน พบว่า เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรค์ด้วยขนมอบ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง มีระดับ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นทุกด้าน อภิปรายได้ดังนี้
-ด้านการสังเกตและการจําแนก เด็กปฐมวัยมีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ก่อนการทดลองอยู่ในระดับ พอใช้คือ ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.15 คะแนน แต่หลังการทดลองเด็ก ปฐมวัยมีระดับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับ ดี ในกิจกรรมคุกกี้แฟนซีมีสีที่เหมือนกัน คือ สีส้ม ของแยมและผลไม้เด็กได้สังเกตว่า ส้มสามารถนํามาทําแยมได้และสีก็เหมือนกัน
-ด้านการเปรียบเทียบ เปิดโอกาสใหเด็กได้เรยนรู้ทักษะ ด้านการเปรยบเทียบ จากวัตถุดิบที่ครูนํามาทํากิจกรรม ตัวอย่างเช่น กิจกรรมขาไก่สร้างสรรค์เด็กไดสังเกตขนมขาไก่ที่มี ลักษณะที่แตกตางกันทงในด้านขนาดและรูปทรงที่แตกต่างกัน
- ด้านการจัดหมวดหมู่ ในการจัดกิจกรรมพวงมาลยหัวจุก เด็กได้เรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่จากกิจกรรมนี้โดยการจัดหมวดหมู่ตามสีและ ลักษณะรูปทรงของขนม

ได้ยกตัวอย่างแผนการสอนมา1แผน

ชื่อกิจกรรม พวงมาลัยหัวจุกคู่เอบีซี
จุดประสงค์
1. เพื่อใหนักเรียนได้พัฒนาการใช้กลามเนื้อเล็กและการประสานสัมพนธั ระหว่างมือกับตา
2. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการสังเกตและการจําแนก เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู
3. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการรับรู้ประสาทสัมผัส
4. เพื่อให้นักเรียนได้ส่งเสริมการแสดงออก 
5. เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน 
6. เพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ
เนื้อหา 
พวงมาลัยหัวจกคู่เอบีซี 
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนํา 
 1. นักเรียนและครูสนทนาร่วมกันเล่นเกมทายชื่อขนมเอบีซีดังนี้โดยครูนําขนมเอบีซี ใส่กล่องทึบให้นักเรียนคลําแล้วทายชื่อขนมเอบีซี 
 2. นักเรียนและครูสนทนาร่วมกนั ดังนี้ 
 2.1 ขนมเอบีซีมีรูปร่างอย่างไรบ้าง 
 2.2 มีใครเคยเห็นขนมประเภทนี้บ้าง ที่ไหน 
 2.3 เนื้อของขนมมีสีอะไร
 2.4 นักเรียนเคยทานขนมนี้ไหม
ขั้นสอน 
 1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณ์ ตามความสนใจของตนเอง  
2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจโดยการเลือกร้อยขนมหัวจุก ขนมเอบีซีหรือกระดาษว่าว ใส่เชือกหรือการโรยหน้า ทา วาด เขียน ดวยน้ำตาลไอซิ่ง ครีมแต่งหน้าเค้ก ตามความคดและจินตนาการ ลงบนอุปกรณ์ที่ครูจัดให้  
3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแล้วให้นำชิ้นงานวางบนถาดรองไปจดรวมกันไว้ที่หน้าชั้นเรียน 
4. เด็กช่วยกันเก็บของ  ทําความสะอาดให้เรียบร้อย
ขั้นสรุป 
 1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนาร่วมกับครู ดังนี้ 
1.1 นักเรียนใช้อุปกรณ์ใดบ้างในการทํากิจกรรรม 
1.2 อุปกรณ์ที่ใช้มีสีอะไรบ้าง  
1.3 นักเรียนคิดว่าระหว่างขนมหัวจุกกับกระดาษว่าวอะไรเบาและอะไรหนัก 
1.4 ในพวงมาลัยของนักเรียนมีขนมรูปทรงใดบ้าง  
1.5 ในพวงมาลยของนักเรียนมีขนมรูปทรงใดบางที่เหมือนกนั และมีสิ่งใดบ้างที่เหมือนกัน 
1.6 กิจกรรมที่นักเรียนทําใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง 
1.7 ในกิจกรรมเด็กๆใช้น้ําตาลไอซิ่งทําอะไร 
1.8 ในกิจกรรมเด็กโรยอะไรบนขนมเอบีซี 
สื่อการเรียน 
 1. ขนมปังหัวจุก สีเหลือง สีเขียว สีขาว สีชมพู 
 2. ขนมปังรูปทรงABC-Z 
 3. กระดาษว่าวสีต่างๆ 
 4. เชือกสําหรับร้อยขนม
 5. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน 
 6. ผ้าพลาสติกปูโต๊ะ 
 7. ถาดสําหรับใส่ขนม 
 8. น้ําตาลไอซิ่ง 
 9. ครีมแต่งหน้าเค็ก 
การประเมินผล 
 1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา 
 2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม

บทความ เรื่อง นิทานพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

สรุปบทความ

ที่มา http://archive.wunjun.com/children/7/79.html

 ธรรมชาติของการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กเด็กก็ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะอื่นๆที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การบวก ลบ ต่อไปได้ สิ่งที่ครูต้องตระหนักอย่างมากประการหนึ่งคือ จะใช้
นวัตกรรมหรือวิธีการใดที่จะทำให้เด็กเกิดทักษะคณิตศาสตร์ได้อย่างเข้าใจและมี
ทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ขั้นตอนแรกเด็กต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส
ทั้งห้า ให้เด็กได้หยิบจับ นับสิ่งของรอบๆตัว และต้องทำซ้ำๆสม่ำเสมอ เมื่อเด็กเริ่ม
เรียนรู้จำนวนโดยการสัมผัสของจริงแล้ว ก็สามารถเริ่มให้เด็กได้ฝึกทักษะในรูปแบบที่
เป็นนามธรรมได้บ้าง เช่น การใช้ภาพเป็นสื่อแทนของจริง

ในส่วนของนิทาน จากการศึกษาพบว่า เด็กชอบสื่อประเภทนิทาน และผลจาก
งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าเด็กชอบนิทานประเภทคำคล้องจอง เพราะมีภาษาและเสียงที่มี
คำสัมผัสคล้องจอง ทำให้เด็กเพลิดเพลิน และง่ายต่อการจดจำ นำไปพูดต่อได้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2
วันศุกร์ ที่20 มกราคม 2561 เวลา. 08.30-12.30น.

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์เริ่มให้ทำเป็นมายแมพให้หาคำตอบในคอสซิลิบัสค้ากับแบบทดสอบก่อนเรียน 
แยกเป็นมี3 หัวข้อ คือ 
1.คณิตศาสตร์
2.การจัดประสบการณ์
3.เด็กปฐมวัย

มายแมพที่ทำส่งครั้งแรก และอาจารย์นำมาแก้ไขทีหลัง


อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับกิจกรรมต่อไป



กิจกรรมที่2คือเขียนชื่อตัวเองให้ติดกัน เมื่อเราแจกกระดาษ1:1 ปรากฏกระดาษไม่พอแสดงว่าจำนวนกระดาษน้อยกว่าจำนวนคน ต้องเอากระดาาอีก3ชิ้นถึงจะเท่าจำนวนคน ได้องค์ความความรู้ได้นำการสอนการบวกลบจำนวนและการเปรียบเทียบให้กับเด็กปฐมวัย


ชื่อเสร็จแล้ว





อาจารย์ให้นำชื่อของแต่ละคนไปติดตามช่วงเวลาการตื่นของแต่ละคน 
คือก่อน7โมงเช้าและหลัง7โมงเช้าได้องค์ความรู้คือ การออกไปติดชื่อ
-เด็กได้รู้เวลา
-เด็กได้รู้ก่อนหลัง
-รู้วิธเก็บเด็กเรียกเด็กยังไงไม่ให้วุ่นวาย
-ใช้การร้องเพลง หรือเรียกทีละคน
-ได้เปรียบเทียบเช่น เด็กตื่นหลัง7โมงมากกว่าเด็กที่ตื่นก่อน7โมง

การประเมิน
ประเมินตนเอง: ตั้งใจเรียนมาก
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆ คุยเสียงดังบ้าง
ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนชัดเจนเข้าใจมีการสอนถ้าผิดก็บอกให้แก้ถึงสิ่งที่ถูกต้อง 


วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1
วันศุกร์ ที่12 มกราคม 2561 เวลา. 08.30-12.30น.

ความรู้ที่ได้รับ 

อาจารย์ชี้แจงเกี่ยวกับเงื่อนไขการเข้าเรียน การตรวจblogger ทุกวันอาทิตย์ก่อนเที่ยงเสมอ แล้วใหลิงค์blogถึงงานวิจัย อ่านและสรุปงานวิจัย และบทความเกี่ยวกับงานวิจัยของคณิตศาตร์ สรุปตัวอย่างของการสอนคณิตศาสตร์ สรุปการสอนคณิตตร์ และงานกลุ่มคือทำสื่อคณิตศาสตร์ และพูดถึงเงื่อนไขการได้A มาตราฐานของเกรด พูดคร่าวๆเกี่ยวกับความหมายของคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย


อาจารย์เริ่มเช็คชื่อ


เพื่อนเริ่มอ่านคอสซิลิบัส


การประเมิน
ประเมินตนเอง: ตั้งใจฟังเงื่อนไขการเรียนการสอน
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ คุยเสียงดังบ้าง
ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนชัดเจนเข้าใจ 

งานที่ได้รับมอบหมาย การสร้างรูปเรขาคณิตและรูปทรงเลขาคณิตโดยมีไม้จิ้มฟันและดินน้ำมันเป็นส่วนประกอบ 1.รูปเรขาคณิต  รูปสี่เหลี่ยม 2....